News ข่าวกีฬา บอลต่างประเทศ

5 โมเมนต์น่าจดจำที่สุดของ เทรนต์ กับ ลิเวอร์พูล! เตะมุมอันเลื่องชื่อดับ บาร์ซ่า

ลิเวอร์พูล-siamsportth

งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา แต่สิ่งที่ เทรนต์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ ทำไว้กับ ลิเวอร์พูล ตลอด 9 ปีในทีมชุดใหญ่จะอยู่ในความทรงจำแฟนบอลตลอดไป นี่คือโมเมนต์ที่น่าจดจำของแบ็กขวาทีมชาติอังกฤษที่ฝากไว้กับ “หงส์แดง” ก่อนอำลา

เทรนต์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ แบ็กขวาทีมชาติอังกฤษของ ลิเวอร์พูล เพิ่งจะออกมาประกาศยืนยันอย่างเป็นทางการแล้วว่า จะอำลาถิ่น แอนฟิลด์ ช่วงซัมเมอร์นี้ หลังตัดสินใจไม่ต่อสัญญาฉบับใหม่กับ “หงส์แดง” ออกไปอีก 

อย่างไรก็ตามตลอด 9 ปีในการก้าวขึ้นมาเล่นให้ทีมชุดใหญ่ของ เทรนต์ นั้นเขาสร้างเรื่องราวที่น่าจดจำมากมายจะมีอะไรบ้างเรารวบรวมมาฝากกัน 

 

– ลิเวอร์พลู

– ชนะ บาร์เซโลน่า 4-0 (ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก : 7 พ.ค. 2019)

เกมนี้กลายเป็นหนึ่งในเกมที่น่าจะอยู่ในใจของสาวก “เดอะ ค็อป” หลายคน หลังจาก ลิเวอร์พูล พลิกนรกกลับมาเอาชนะ บาร์เซโลน่า 4-0 ได้ในแอนฟิลด์ เลกที่สอง และประตูชัยเกิดขึ้นมาจากลูกเตะมุมอันเลื่องชื่อของ เทรนต์ 

จังหวะดังกล่าวเกิดขึ้นในนาที 79 เมื่อ เทรนต์ โชว์ไหวพริบหลอกผู้เล่น บาร์ซ่า ก่อนจะวิ่งกลับมาที่ลูกบอลลักไก่เล่นเตะมุมเร็วเปิดให้ ดิว็อค โอริกี้ ยิงหน้าปากประตูเข้าไปชนิดที่ผู้เล่น “เจ้าบุญทุ่ม” ไม่ทันตั้งตัว และกลายเป็นประตูชัยส่ง “หงส์แดง” ผ่านเข้ารอบไปแบบสุดเหลือเชื่อ ก่อนที่สุดท้ายพวกเขาจะจบลงด้วยการคว้าแชมป์! 

– ชนะ ฮอฟเฟ่นไฮม์ 2-1 (ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก เพลย์ออฟ : 15 ส.ค. 2017)

ก่อนเริ่มต้นฤดูกาล 2017-18 จะเริ่มขึ้นเวลานั้น เทรนต์ ยังคงมีสถานะเป็ยแค่แบ็คอัพเท่านั้น หลังเพิ่งขึ้นมาเล่นให้ทีมชุดใหญ่เป็นปีที่สอง 

อย่างไรก็ตามมาเกิดจุดเปลี่ยนสำคัญขึ้นเมื่อแบ็กขวาตัวจริงอย่าง นาธาเนียล ไคลน์ มีอาการบาดเจ็บทำให้เจ้าหนูวัยเพียง 20 ปีในเวลานั้นได้ก้าวขึ้นมาแจ้งเกิดได้สำเร็จ หลังซัดฟรีคิกสุดสวยพาทีมขึ้นนำก่อน ซึ่งเกมนี้ทำให้แฟนบอลรู้จักเขามากขึ้นและได้รับโอกาสลงเล่นมากขึ้นหลังจากนั้นเป็นต้นมา 

– ชนะ ฟูแล่ม 4-3 (พรีเมียร์ลีก : 3 ธ.ค. 2023)

เกมนี้ถือเป็นอีกเกมที่พลิกไปพลิกมา ก่อนจะเป็น ลิเวอร์พูล จะแซงชนะได้ในช่วงท้ายเกม ซึ่งเป็นประตูชัยจาก เทรนต์ ในนาทีที่ 88 ทำให้เจ้าตัวและ “เดอะ ค็อป” ในแอนฟิลด์ฉลองกันอย่างสะใจ เนื่องจากเป็นประตูสำคัญในการแย่งลุ้นแชมป์

– ชนะ เลสเตอร์ 4-0 (พรีเมียร์ลีก : 26 ธ.ค. 2019)

กลายเป็นอีกเกมที่ เทรนต์ โชว์ฟอร์มได้สมบูรณ์แบบที่สุุดเกมหนึ่งกับ ลิเวอร์พูล หลังยิงได้ 1 ประตูกับทำอีก 2 แอสซิสต์ แถมเล่นเกมรับได้เหนียวแน่นมีส่วนช่วยทีมเก็บคลีนชีตได้ด้วย

เทรนต์ ครอสบอลให้ โรแบร์โต้ ฟีร์มีโน่ ทำประตูแรกได้อย่างสวยงาม ก่อนจะปิดท้ายด้วยการกดฟรีคิกเข้าไป ช่วยทีมยุติการรอคอย 30 ปี คว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกได้สำเร็จได้ในซีซั่นนี้ 

– ชนะ เลสเตอร์ 1-0 (พรีเมียร์ลีก : 20 เม.ย. 2025)

หากจะพูดถึงเกมในซีซั่นนี้ที่เป็นแมตช์ที่น่าจดจำของ เทรนต์ และกลายเป็นซีซั่นสั่งลาของเขานั้น ต้องยกให้เกมที่บุกไปเฉือน เลสเตอร์ ซิตี้ ซึ่ง เทรนต์ เป็นฮีโร่กดประตูชัย

เกมดังกล่าว เทรนต์ ถูกส่งลงมาเป็นตัวสำรองแทนที่ของ อนเนอร์ แบรดลีย์ ซึ่งเป็นการคัมแบ็กกลับมาลงสนาม หลังจากพักรักษาอาการบาดเจ็บถึง 5 สัปดาห์ พร้อมกับถอดเสื้อฉลองประตูแบบสะใจ

ติดตามช่องทางอื่นๆ:
Website : siamsportth.com
Facebook : siamsportth

สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล (อังกฤษLiverpool Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพที่อยู่ในเมืองลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ แข่งขันอยู่ในพรีเมียร์ลีก ลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษ สโมสรก่อตั้งใน ค.ศ. 1892 ได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลลีกในปีต่อมาและใช้สนามแอนฟีลด์เป็นสนามเหย้าตั้งแต่ก่อตั้งสโมสร

สำหรับการแข่งขันภายในประเทศ ลิเวอร์พูลชนะเลิศลีกสูงสุด 20 สมัย (สถิติร่วมสูงสุด), เอฟเอคัพ 8 สมัย, ลีกคัพ 10 สมัย (สถิติสูงสุด) และเอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 16 สมัย ส่วนการแข่งขันระดับนานาชาติ ลิเวอร์พูลชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 6 สมัย, ยูฟ่าคัพ 3 สมัย, ยูฟ่าซูเปอร์คัพ 4 สมัย (ทั้งสามรายการเป็นสถิติสูงสุดของสโมสรอังกฤษ) และฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 1 สมัย ช่วงเวลาที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์คือช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 และคริสต์ทศวรรษ 1980 เมื่อบิลล์ แชงคลีบ๊อบ เพสลีย์โจ เฟแกนและเคนนี แดลกลีช พาทีมชนะเลิศลีกสูงสุด 11 สมัยและยูโรเปียนคัพ 4 ใบ ต่อมาลิเวอร์พูลชนะเลิศการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนลีกอีก 2 สมัย ภายใต้การคุมทีมของราฟาเอล เบนิเตซและเยือร์เกิน คล็อพตามลำดับ ซึ่งคล็อพสามารถนำทีมชนะเลิศลีกสูงสุดใน ค.ศ. 2020 นับเป็นการชนะเลิศลีกสูงสุดสมัยที่ 19 และสมัยแรกของยุคพรีเมียร์ลีก ต่อมาใน ค.ศ. 2025 สโมสรชนะเลิศพรีเมียร์ลีกสมัยที่สอง และเป็นการชนะเลิศลีกสูงสุดสมัยที่ 20 ภายใต้การคุมทีมโดยอาร์เนอ สล็อต

ลิเวอร์พูลเป็นหนึ่งในสโมสรที่มีผู้สนับสนุนมากที่สุดในโลกและเป็นหนึ่งในสโมสรฟุตบอลที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก ลิเวอร์พูลมีสโมสรคู่แข่งซึ่งแข่งขันด้วยกันมาอย่างยาวนาน ได้แก่ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดและเอฟเวอร์ตัน ลิเวอร์พูลใช้เสื้อสีแดงและกางเกงขาสั้นสีขาวเป็นชุดแข่งขันมาตั้งแต่ ค.ศ. 1896 ก่อนจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเต็มตัวเมื่อเล่นเป็นทีมเหย้าตั้งแต่ ค.ศ. 1964 เป็นต้นมา ฉายาในภาษาอังกฤษของลิเวอร์พูลคือ “เดอะเรดส์” (The Reds) ส่วนฉายาที่ชาวไทยนิยมเรียกคือ “หงส์แดง” ลิเวอร์พูลมีเพลงประจำสโมสรคือ “ยูลล์เนฟเวอร์วอล์กอะโลน” (You’ll Never Walk Alone)

แฟนบอลของสโมสรได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับโศกนาฏกรรมที่สำคัญ 2 ครั้ง ได้แก่ ภัยพิบัติสนามกีฬาเฮย์เซลที่กำแพงพังลงมาทับแฟนบอลในนัดชิงชนะเลิศยูโรเปียนคัพ 1985 ที่บรัสเซลส์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 39 คน โดยส่วนใหญ่เป็นชาวอิตาลีและผู้สนับสนุนยูเวนตุส หลังจากนั้นยูฟ่าได้ระงับสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลยุโรปของสโมสรจากอังกฤษเป็นระยะเวลา 5 ปี และภัยพิบัติฮิลส์โบโรใน ค.ศ. 1989 เมื่อแฟนบอลของลิเวอร์พูล 97 คนเสียชีวิตจากการถูกบีบอัดติดกับรั้วที่กั้นสนาม นำไปสู่การยกเลิกรั้วกันสนามบริเวณที่ยืน โดยกำหนดให้สนามกีฬาของสโมสรในลีกสองระดับแรกของฟุตบอลอังกฤษต้องเป็นแบบมีที่นั่งทั้งหมด การรณรงค์เพื่อความยุติธรรมเป็นเวลานานทำให้มีการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ชันสูตรศพ คณะกรรมการและคณะกรรมการอิสระเพิ่มเติมซึ่งทำให้ผู้สนับสนุนพ้นผิดในท้ายที่สุด

สนามกีฬา

 
แอนฟีลด์ถูกสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1884 บนที่ดินติดกับสแตนลีย์พาร์ก ห่างจากตัวเมืองลิเวอร์พูล 2 ไมล์ (3 กิโลเมตร) แต่เดิมเคยเป็นสนามเหย้าของเอฟเวอร์ตัน ก่อนที่สโมสรจะย้ายไปกูดิสันพาร์ก หลังมีข้อพิพาทเรื่องค่าเช่ากับ จอห์น โฮลดิง เจ้าของแอนฟีลด์[72] ทำให้แอนฟีลด์ไม่มีผู้ใช้งาน โฮลดิงจึงก่อตั้งลิเวอร์พูลใน ค.ศ. 1892 และสโมสรได้ลงเล่นในแอนฟีลด์นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ความจุของสนามในเวลานั้นคือ 20,000 ที่นั่ง อย่างไรก็ตาม มีผู้ชมเพียง 100 คนในการแข่งขันครั้งแรกของสโมสรที่สนามแห่งนี้[73]
 

อัฒจันทร์เดอะค็อป ถูกสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1906 เนื่องจากเริ่มมีผู้ชมเข้ามาชมเกมการแข่งขันมากขึ้น ในตอนแรกนั้นเรียกว่าโอกฟิลด์โรดเอ็มแบงก์เมนต์ โดยเกมแรกหลังการสร้างอัฒจันทร์นี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1906 ในนัดที่เจ้าบ้านเอาชนะสโตกซิตีด้วยผลประตู 1–0[74] ใน ค.ศ. 1906 อัฒจันทร์ฝั่งยืนที่อยู่ปลายด้านหนึ่งของสนามถูกเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเป็นสปิออนค็อป ตั้งชื่อตามเนินเขาในควาซูลู-นาทาล ประเทศแอฟริกาใต้[75] เนินเขาเป็นที่ตั้งของยุทธการที่สปิออนค็อปในสงครามบูร์ครั้งที่สอง ซึ่งมีทหารมากกว่า 300 นายจากกองทหารแลงคาเชอร์เสียชีวิตที่นั่น โดยหลายคนมาจากลิเวอร์พูล[76] อัฒจันทร์นี้สามารถจุได้สูงสุดถึง 28,000 คน เคยเป็นหนึ่งในอัฒจันทร์ยืนชั้นเดียวที่ใหญ่ที่สุดในโลก หลายสนามในอังกฤษเริ่มมีการตั้งชื่ออัฒจันทร์ว่าสปิออนค็อป แต่อัฒจันทร์สปิออนค็อปของแอนฟีลด์นี้เป็นอัฒจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในตอนนั้น โดยสามารถจุผู้สนับสนุนได้มากกว่าสนามฟุตบอลบางแห่ง[77]

แอนฟีลด์สามารถรองรับผู้สนับสนุนสูงสุดได้มากกว่า 60,000 คนและมีความจุปกติที่ 55,000 คน จนกระทั่งในทศวรรษ 1990 หลัง เทย์เลอร์รีพอร์ต รายงานเหตุการณ์การถล่มของอัฒจันทร์ที่สนามฮิลส์โบโร พรีเมียร์ลีกจึงมีคำสั่งให้ทุกสนามเปลี่ยนจากอัฒจันทร์ยืนเป็นแบบนั่งทั้งหมดในฤดูกาล 1993–94 ความจุของแอนฟีลด์จึงลดลงเหลือ 45,276 ที่นั่ง[78] ผลจากรายงานได้ผลักดันให้มีการปรับปรุงอัฒจันทร์เคมลินโรด ซึ่งปรับปรุงเสร็จใน ค.ศ. 1992 ตรงกับการครบรอบ 100 ปีของการก่อตั้งสโมสร จึงตั้งชื่อว่าอัฒจันทร์เซนเทเนรี และได้เปลี่ยนชื่อเป็นอัฒจันทร์เคนนีแดลกลีชใน ค.ศ. 2017 มีการสร้างอัฒจันทร์เพิ่มอีกหนึ่งชั้นในอัฒจันทร์ฝั่งแอนฟีลด์โรดในช่วงปลาย ค.ศ. 1998 ทำให้ความจุของสนามเพิ่มขึ้น แต่เกิดปัญหาขึ้นหลังจากการเปิดใช้งาน ทำให้ต้องมีการสร้างเสาและตอม่อค้ำจุนเสริมเข้าไปเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับชั้นบนสุดของอัฒจันทร์ หลังจากมีการรายงานการสั้นของชั้นอัฒจันทร์ช่วงเริ่มต้นของฤดูกาล 1999–2000[79]

เนื่องจากข้อจำกัดในการขยายความจุของแอนฟีลด์ ลิเวอร์พูลได้ประกาศแผนย้ายไปสนามกีฬาสแตนลีย์พาร์กเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2002[80] แผนนี้ได้รับการอนุมัติในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2004[81] และในเดือนกันยายน ค.ศ. 2006 สภาเมืองลิเวอร์พูลได้อนุมัติสัญญาเช่า 999 ปี ทำให้ลิเวอร์พูลได้รับอนุญาตให้สร้างสนามแห่งใหม่ใกล้สแตนลีย์พาร์ก[82] ภายหลังจากการซื้อสโมสรโดยจอร์จ ยิลเลตต์ และทอม ฮิกส์ ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 สนามกีฬาดังกล่าวได้รับการออกแบบใหม่ โดยได้รับการอนุมัติจากสภาเมืองในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 กำหนดเปิดในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2011 สนามแห่งใหม่ถูกออกแบบให้มีความจุ 60,000 คน มีบริษัท เอชเคเอส เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง[83] การก่อสร้างหยุดชั่วคราวในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2008 หลังยิลเลตต์และฮิกส์ ประสบปัญหาในการหาเงินมาลงทุน จำนวน 300 ล้านปอนด์[84] ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2012 บีบีซีสปอร์ต รายงานว่า เฟนเวย์สปอร์ตกรุป เจ้าของใหม่ของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล ได้ตัดสินใจปรับปรุงสนามแอนฟีลด์แทนการสร้างสนามใหม่ในสแตนลีย์พาร์ก โดยการปรับปรุงแอนฟีลด์จะทำให้เพิ่มความจุจาก 45,276 คนเป็นประมาณ 60,000 คน มีค่าใช้จ่ายประมาณ 150 ล้านปอนด์[85] เมื่อการก่อสร้างเมนสแตนด์ของแอนฟีลด์เสร็จ จะทำให้ความจุเพิ่มเป็น 54,074 คน การสร้างส่วนต่อขยายชั้นสามของอัฒจันทร์ซึ่งใช้เงิน 100 ล้านปอนด์ เป็นส่วนหนึ่งโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบแอนฟีลด์ รวมมูลค่า 260 ล้านปอนด์ เยือร์เกิน คล็อพ ผู้จัดการทีมในเวลานั้นกล่าวถึงอัฒจันทร์ว่า “น่าประทับใจ”[86]

เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2021 มีรายงานว่าสภาเมืองลิเวอร์พูลได้อนุมัติแผนงานให้สโมสรปรับปรุงและขยายอัฒจันทร์แอนฟีลด์โรด ทำให้ความจุเพิ่มขึ้นประมาณ 7,000 ที่นั่ง และทำให้ความจุรวมของแอนฟีลด์เพิ่มขึ้นเป็น 61,000 ที่นั่ง การขยายพื้นที่ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้งบประมาณ 60 ล้านปอนด์ แอนดี ฮิวจ์ส กรรมการผู้จัดการได้อธิบายว่าเป็น “ก้าวสำคัญ” และยังจะมีการทดลองใช้ที่นั่งแบบราวกั้นในอัฒจันทร์เดอะค็อปสำหรับพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2021–22[87] เกมลีกนัดแรกที่มีผู้ชมมากกว่า 60,000 คนที่แอนฟีลด์หลังจากการปรับปรุงอัฒจันทร์ฝั่งแอนฟีลด์โรดใกล้จะเสร็จสมบูรณ์ คือนัดพรีเมียร์ลีกที่พบกับไบรท์ตันเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2024[88]

การสนับสนุน

ลิเวอร์พูลเป็นหนึ่งสโมสรที่ได้รับการสนับสนุนมากที่สุดในโลก[89][90] ลิเวอร์พูลแถลงว่ามีฐานผู้สนับสนุนทั่วโลก โดยมีผู้สนับสนุนสโมสรได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการมากกว่า 200 แห่งในอย่างน้อย 50 ประเทศ กลุ่มที่มีชื่อเสียง เช่น สปิริตออฟแชงคลี[91] สโมสรจะใช้ประโยชน์จากการสนับสนุนนี้ผ่านการทัวร์ฤดูร้อนทั่วโลก[92] ซึ่งรวมถึงการลงเล่นต่อหน้าผู้ชมจำนวน 101,000 คนที่มิชิแกนในสหรัฐ และผู้ชมจำนวน 95,000 คนที่เมลเบิร์นในออสเตรเลีย[93][94] ผู้สนับสนุนของลิเวอร์พูลมักเรียกตัวเองว่าเป็น คอปิตส์ ซึ่งอ้างอิงถึงผู้สนับสนุนที่เคยยืนและนั่งบนอัฒจันทร์เดอะค็อปที่แอนฟีลด์[95] ใน ค.ศ. 2008 ผู้สนับสนุนของลิเวอร์พูลได้ก่อตั้งสโมสรชื่อว่า เอเอฟซี ลิเวอร์พูล ซึ่งลงเล่นในเกมการแข่งขันให้สำหรับผู้สนับสนุนที่ไม่มีเงินดูฟุตบอลพรีเมียร์ลีก[96]

เพลง “ยูลล์เนฟเวอร์วอล์กอะโลน” แต่เดิมนั้นมาจากละครเพลงของรอดเจอร์สและแฮมเมอร์สไตน์ ชื่อว่า แคเรอแซล ซึ่งต่อมาเจอร์รีแอนด์เดอะพีชเมเกอร์สได้บันทึกเสียงใหม่จนกลายเป็นเพลงสรรเสริญของสโมสรที่ผู้ชมในแอนฟิลด์ร้องตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1960[97] ซึ่งต่อมาก็ได้รับความนิยมในหมู่ผู้สนับสนุนของของสโมสรอื่นทั่วโลก[98] ชื่อของเพลงถูกนำไปประดับบนประตูแชงคลี ซึ่งเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1982 เพื่อรำลึกถึงอดีตผู้จัดการทีม บิล แชงคลี คำว่า “You’ll Never Walk Alone” บนประตูแชงคลี ถูกนำไปใส่ไว้ด้านบนของตราสโมสร[99]

ผู้สนับสนุนของสโมสรได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับโศกนาฏกรรมที่สำคัญ 2 ครั้ง ครั้งแรกคือ ภัยพิบัติสนามกีฬาเฮย์เซลเมื่อ ค.ศ. 1985 ทำให้ผู้สนับสนุนยูเวนตุสเสียชีวิต 39 คน พวกเขาถูกขังอยู่ที่มุมหนึ่งโดยผู้สนับสนุนลิเวอร์พูลที่พุ่งเข้ามาหาพวกเขา น้ำหนักของผู้สนับสนุนที่อยู่มุมนั้นทำให้กำแพงพังลงมา ยูฟ่ากล่าวโทษเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นความผิดของผู้สนับสนุนลิเวอร์พูลแต่เพียงผู้เดียว[100] และระงับสิทธิ์สโมสรอังกฤษทั้งหมดจากการแข่งขันรายการฟุตบอลยุโรปเป็นเวลาห้าปี ลิเวอร์พูลได้รับโทษแบนเพิ่มเติมจนไม่สามารถเข้าร่วมยูโรเปียนคัพฤดูกาล 1990–91 แม้ว่าจะชนะเลิศลีกสูงสุดใน ค.ศ. 1990 ก็ตาม[101] ผู้สนับสนุนยี่สิบเจ็ดคนถูกจับในข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนาและถูกส่งตัวไปยังเบลเยียมเพื่อเข้าร่วมการพิจารณาคดีเมื่อ ค.ศ. 1987[102] ใน ค.ศ. 1989 หลังการพิจารณาคดีห้าเดือนในเบลเยียม ผู้สนับสนุนลิเวอร์พูล 14 คนได้รับโทษจำคุก 3 ปีจากความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา[103] โทษจำคุกกึ่งหนึ่งให้รอลงอาญา[104]

ภัยพิบัติครั้งที่สองเกิดขึ้นในเอฟเอคัพ รอบรองชนะเลิศ ระหว่างลิเวอร์พูลกับนอตทิงแฮมฟอเรสต์ที่สนามกีฬาฮิลส์โบโรในเชฟฟิลด์ เมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1989 ผู้สนับสนุนลิเวอร์พูล 96 คน เสียชีวิตจากการที่ผู้ชมเข้ามาในอัฒจันทร์ฝั่งแลปปิงส์เลนเอ็น ซึ่งกลายเป็นที่รู้จักในชื่อภัยพิบัติฮิลส์โบโร วันต่อมา หนังสือพิมพ์ เดอะซัน ได้ตีพิมพ์บทความ “เดอะทรูธ” ซึ่งอ้างว่าแฟนลิเวอร์พูลได้ปล้นคนที่เสียชีวิตกับโจมตีและปัสสาวะใส่ตำรวจ[105] จากการสอบสวน ข้อกล่าวหานั้นไม่เป็นความจริง นำไปสู่การคว่ำบาตรหนังสือพิมพ์ โดยผู้สนับสนุนลิเวอร์พูลทั่วเมืองและที่อื่น ๆ หลายคนยังปฏิเสธที่จะซื้อ เดอะซัน แม้เวลาจะผ่านมาแล้ว 30 ปี[106] องค์กรสนับสนุนหลายแห่งได้ก่อตั้งขึ้นหลังเกิดภัยพิบัติ เช่น การรณรงค์เพื่อความยุติธรรมของฮิลส์โบโร ซึ่งเป็นตัวแทนของครอบครัวผู้สูญเสีย ผู้รอดชีวิตและผู้สนับสนุนในความพยายามที่จะรักษาความยุติธรรม[10

SiamSport TH - K

About Author

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *